วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ไข่มดแดง กับการเลี้ยงปลาหมอสี


     ไข่มดแดง เป็นอาหารปลาหมอสีชั้นยอดชนิดหนึ่งที่พวกเราได้มองข้ามกันไป แต่จะหายากสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ ไข่มดแดงนั้นเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง หรือนำมาเป็นอาหารเสริมได้ดี ใช้ให้ปลากินควบคู่กับอาหารเม็ด หลังจากได้ดูในตารางคุณค่าทางอาหาร จะเห็นว่าจะมีส่วนประกอบ ของ แคลเซียมที่ช่วยในการเสริมกระดูกปลา และเสริมเกล็ดของปลาให้มีความสวยงามมากขึ้น


ไข่มดแดง มีความชื้นอยู่ที่ 81.9 ,โปรตีน 7 , ไขมัน 3.2 ,สารประกอบ 6.5 , กาก 0.8 , พลังงาน 0.6, แป้ง/น้ำตาล 82.8 * และมีคุณ ค่าทางอาหาร แคลเซียม 8.4 มก., ฟอสฟอรัส 113.4 มก., เหล็ก 4.1 มก., โซเดียม 28 มก., , โปรตัสเซียม 96.3 มก., บี 10.15 มก., บี 2 0.19 มก., ไนอาซีน 0.92**

ข้อมูล * ตาราง ปริมาณแร่ธาตุและวิตามินในแมลงต่างๆ ต่อน้ำหนักแมลงสด 100 กรัม

ที่มา พงศ์ธร สังข์เผือก, ประภาศรี ภูวเสถียร : 2526

** ตาราง คุณค่าทางอาหารของแมลง 18 ชนิด ที่มา อุษา กลิ่นหอม และคณะ : 2528

วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ประวัติปลาหมอสีcrossbreed "ไตรทอง"


          ท่ามกลางกระแสครอสบรีดที่รุนแรง หลายคนอาจจะลืมไปแล้วว่า เคยมีปลาหมอสีครอสบรีดอีกชนิดหนึ่งที่ได้เคยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ของคนไทย ที่ทำให้ต่างประเทศได้รู้ว่าประเทศของเรามีนักเพาะพันธุ์ปลาที่มีฝึมือ สามารถเพาะพันธุ์ปลาหมอสีครอสบรีดให้มีความสวยงาม และเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวได้เหมือนกัน ปลาหมอสีครอสบรีดตัวนั้นมีชื่อว่า "ไตรทอง" 

            "ลุงหวัด" นักเพาะพันธุ์ปลาท่านหนึ่ง ซึ่งคนในวงการปลาสวยงามรู้จักกันดี และมีชื่อเสียงจนผู้คนยอมรับในด้านการให้กำเนิด เจ้าปลาหมอสี "ไตรทอง" ได้ทำการผสมสำเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2542 ในเวลาต่อมาคือช่วงต้นปี 2543 เริ่มมีคนรู้จักปลาชนิดใหม่นี้ และเริ่มให้ความสนใจไตรทองเป็นจำนวนมาก จนไตรทองเป็นที่ต้องการของตลาด ไม่ว่าจากในประเทศหรือต่างประเทศ ไตรทองหรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ ไตรมาคูทอง (Golden Trimaculatus) มีต้นกำเนิดจากปลาหมอสีพันธุ์ ไตรมาคู

             โดยช่วงนั้นลุงหวัดยังเพาะปลาหมอสีชนิดนี้อยู่ และพบว่ามีปลาหมอ ไตรมาคูเลตัส 2 ตัว ที่เพาะได้มีการผ่าเหล่าผิดปกติไปจากปลาในครอกทั่วๆไป คือ มีลักษณะการลอกสี จากปลาพื้นสีดำกลายเป็นปลาพื้นสีเหลือง ช่วงคอแดง โดยบังเอิญปลาผ่าเหล่า 2 ตัวนั้น เป็นตัวผู้และตัวเมียอย่างละตัวพอดิบพอดี ลุงหวัดจึงได้ลองทำการเพาะพันธุ์และพัฒนาปลาชนิดนี้ต่อไป จนความสวยงามเป็นที่ยอมรับ และเกิดความต้องการอย่างมากในท้องตลาด

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

มารู้จักซุปเปอร์เรดซินกันเถอะ (Super red syn)

     หลายท่านที่อยู่ในวงการปลาหมอสี  ก็คงจะรู้จักปลาหมอสีซุปเปอร์เรดซินกันแล้วนะครับ แต่อาจมีบางท่านที่เพิ่งเข้าวงการใหม่ๆอาจจะยังไม่รู้จักปลาหมอสีสายพันธุ์นี้กันเท่าใด ผมก็เลยเอารายละเอียดของเจ้าซุปเปอร์เรดซิน แบบสั้นๆมาลงไว้ ไปดูกันเลยครับ

     ซุปเปอร์เรดซิน เป็นปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างปลาหมอสี ในกลุ่มอเมริกาใต้ มีอยู่หลายสายพันธุ์ ที่เอามาครอสบรีดกัน เช่น ว่าเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ฮาร์ทเวจิ กับ ฟลายฟลาเวอร์ บ้าง ฮาร์เวจิกับคิงคองบ้าง และยังมีอีกหลายสายพันธุ์ ที่นักเพาะปลานำมาครอสบรีดกัน ซึ่งสายพันธุ์ที่นำมาครอสกันแล้วได้ซุปเปอร์เรดซินสายที่ดังๆ ซึ่งมีลักษณะที่สวย ทั้งแดงและโหนก จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่าเอาสายพันธุ์ใดเข้ากับสายพันธุ์ใด


          แต่ไม่ว่าจะผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์ใดกับสายพันธุ์ใดก็ตาม ซุปเปอร์เรดซินก็ยังเป็นปลาเปอร์เซ็นต์อยู่ดี ซึ่งหมายถึง จะมีทั้งเปอร์เซ็นต์ที่ปลาจะสวยและมีเปอร์เซ็นต์ที่ปลาจะออกมาไม่สวยด้วย

     ในปัจจุบันมีผู้เพาะพันธุ์ปลาหลายท่าน ที่สามารถพัฒนาสายพันธุ์ของซุปเปอร์เรดซิน ให้มีเปอร์เซ็นต์ความสวยเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้ ซุปเปอร์เรดซินในปัจจุบัน มีราคาที่ลดลงมาบ้าง