วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

น้ำใสๆ ไว้ใจไม่ได้

ต้อง ยอมรับอย่างหนึ่งนะครับว่า น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่สุดสำหรับในการเลี้ยงสัตว์น้ำ ไม่ว่าจะเป็นออกซิเจนที่ปลาจำเป็นในการหายใจก็อยู่ในน้ำ หรือสารอาหารบางชนิดก็ได้จากน้ำที่เขาอาศัยอยู่
นอกจากนี้เชื้อโรคและสารเคมีต่างๆย่อมส่งผลต่อสภาพของสัตว์น้ำหาก สิ่งเหล่านี้เจือปนอยู่ในน้ำ เช่น พยาธิภายนอก หรือสารเคมี เช่น คลอรีน เพราะฉนั้นการดูแลสภาพน้ำย่อมเป็นสิ่งที่สำคัญ ใน การเปลี่ยนน้ำจากประสบการพบว่าหลายท่านจะใช้หลักเกณฑ์ต่างๆในการที่จะคิด เปลี่ยนน้ำ เช่น ดูสีของน้ำ ถ้าเริ่มขุนก็จะเปลี่ยนน้ำ หรือถ้าเริ่มมีสีเหลืองก็จะเปลี่ยนน้ำ บางท่านก็อาจจะใช้หลักเกณฑ์ว่าครบตามวันก็จะทำการเปลี่ยนน้ำ โดยหลักการเลี้ยงสัตว์น้ำ การที่ปลาหรือสัตว์น้ำได้เจอน้ำใหม่ย่อมเป็นสิ่งที่ดีครับ เนื่องจากน้ำใหม่ที่ไม่มีสิ่งเจือปน จะช่วยในการเผาผลาญสารอาหารต่างๆที่ปลาได้รับมาดียิ่งขึ้น แต่ในการเปลี่ยนน้ำทุกวันจะต้องคำนึงถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมของ ปลา กล่าวคือ การเปลี่ยนน้ำไม่ควรเปลี่ยนมากเกิน 50% เนื่อง จะทำให้ปลามีความเครียด เพราะเป็นการเปลี่ยนสภาพแวดล้อมอย่างฉับพลัน ปลาบางตัวจะมีอาการซึมหรือสีซีด เช่น ในปลาหมอสีอาจจะพบว่าจะนอนพิงตู้ พอทิ้งไว้สักระยะก็จะกลับมาว่ายปกติเหมือนเดิม ส่วนในรายที่ดูจากสีน้ำแล้วค่อยทำการพิจารณาเปลี่ยน ค่อนข้างอันตรายนะครับ

เนื่องจากระบบการเลี้ยงโดยส่วนมากแล้ว เกือบทุกตู้จะมีการติดตั้งระบบกรอง ไม่ว่าจะเป็นกรองข้าง หรือกรองกล่อง บางที่ก็เป็นกรองล่าง คือจะมีตัวดูดน้ำเพื่อให้น้ำผ่านกรอง ก่อนที่จะหมุนเวียนมาใช้ต่อ หรืออาจจะเป็นกรองบนซึ่งโดยระบบแล้วจะค่อนข้างใกล้เคียงกัน กรองสำคัญไฉน? กรอง โดยทั่วไปแล้วจุดประสงค์คือการกรองระดับกายภาพ เช่น ฝุ่นต่างๆหรืออึปลาที่ลยมากับน้ำ แต่สภาพระดับค่าเคมีต่างๆกรองจะช่วยได้ไม่มาก เช่น ค่าไนไตรท์ ไนเตรท ค่าความกระด้าง อื่นๆอีกมากมาย หากเราใช้เกณฑ์ความใสในการเปลี่ยนนำจึงถือว่ามีความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ จากที่พบมาง่าทำไมตู้น้ำใสๆแล้วยังพบว่าปลามีปรสิตภายนอกอยู่ ก็สาเหตุสำคัญก็คือการดูแลความสะอาดของน้ำในตู้ โดยปกติในการเปลี่ยนน้ำอย่างน้อยที่สุดควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำอาทิตย์ละ หนึ่งครั้ง โดยอาจจะเปลี่ยนเพียง 30-40 % เพื่อให้ปลาได้เจอน้ำใหม่ ซึ่งการคำเช่นนี้ สามารถช่วยลดการเกิดปลาทองหงายท้องจากการติดเชื้อที่ถุงลมได้ส่วนหนึ่ง

นอกจากนี้อย่างน้อย 1 เดือนควรมีการเปลี่ยนน้ำหรือถูตู้ และทำการเปลี่ยนดูแลระบบกรอง เช่น การนำไบโอบอลล์ ออกมาล้าง การล้างระบบกรองจะช่วยในการเกิดโรคพยาธิภายนอกได้ค่อนข้างมาก เนื่องจากไข่ของพวกนี้มักจะเกาะในที่ต่างๆและส่วนที่มีการไหลผ่านมาตลอดก็ เป็นส่วนของระบบกรองนั่นเอง อาการภายนอกของปลาที่สงสัยว่าจะถูกโจมตีจากพวกพยาธิภายนอก คือ ปลาจะเริ่มว่ายไม่ปกติ คืออาจจะมีการว่ายบิดไปบิดว่าและจะว่ายเอาตัวถูตู้ จะพบได้ชัดในปลา AROWANA ซึ่งเป็นปลาที่เวลามีปรสิตมาเกาะจะว่ายถูค่อนข้างแรงจนในบางตัวจะพบเป็นแผล สีแดงตามตัวที่เกิดจากการนำตัวมาถู ในส่วนของปลาทองสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ จะพบจุดสีแดงกระจายทั่วทั้งตัว และหากปลาตัวไหนมีปรสิตเกาะมาก จะพบว่าปลาจะหายใจค่อนข้างแรงและลอยคอหายใจ เนื่องจากพวกปรสิตปลิงใส มักจะเกาะที่ตัวละบริเวณเหงือก ซึ่งเป็นส่วนที่ สัมผัสน้ำอยู่ตลอดเวลา โดยปลาคาร์ฟจะพบว่าอาการจะลักษณะคล้ายปลาทอง และยังมีอาการพยายามโดดอยู่เรื่อย

จะพบว่าในหลายๆครั้งหลังฝนตกจะพบว่าปลาคาร์ฟจะโดดและลอยคอขึ้นหายใจบริเวณ ผิวน้ำ หาก เราสามารถควบคุมดูแลความสะอาดของน้ำได้ การเกิดโรคจะเป็นได้น้อย เปรียบเหมือนกับคนที่อยู่ในบริเวณมีพื้นที่สีเขียวมากๆย่อมมีร่างกายและ สุขภาพจิตที่ดีกว่าคนที่อยู่บริเวณที่มีแต่ควันพิษ นอก จากนี้การใส่ยาหรือสารเคมีต่างๆควรพึ่งระวังไว้เสมอว่าสารเคมีทุกชนิดเมื่อ ใส่ลงไปมันคือสิ่งแปลกปลอมสำหรับปลา หากจะใช้หรือจำเป็นต้องใช้ ควรปรึกษาสัตวแพทย์ก่อน เพื่อความปลอดภัยของปลา อีกนิดหนึ่งบางท่านที่ใช้น้ำเลี้ยงปลา เช่น น้ำบาดาลหรือน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ควรมีการตรวจดูค่าต่างๆหรือแบคทีเรียและโปรโตซัว เนื่องจากพบว่าในพื้นที่บางพื้นที่มีการนำน้ำบาดาลมาใช้ในการเลี้ยงปลา แล้วพบว่าปลามีอาการป่วย เช่น หัวเป็นรู ซึ่งจะต้องตรวจดูค่าต่างๆในน้ำก่อนที่จะนำมาใช้ นอกจากนั่นการฆ่าเชื้อสำหรับน้ำในกลุ่มนี้ ค่อนข้างมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะอาจมีการปนเปื้อนสารเคมีหรือโปรโตซัว พยาธิที่มากับน้ำ สุดท้ายนี้ การดูแลสุขภาพน้ำในตู้ปลาหรือน้ำในบ่อเลี้ยงปลา ควรให้ความสำคัญระดับต้นๆ การตรวจค่าทางเคมีต่างๆก่นที่จะนำมาใช้ ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ที่เลี้ยงปลาโดยที่ไม่มั่นใจในน้ำที่นำมา เลี้ยง อย่างเช่นน้ำบาดาลหรือน้ำปะปา

อาจจะเสียเวลาสักหน่อยแต่ผมเชื่อว่าทุกท่านคงไม่อยากที่จะเห็นปลาหงายกันหมด บ่อเพราะการที่จะกลัวเสียเวลาเล็กๆน้อยๆจริงไหมครับ และที่สำคัญที่พยายามเน้นเพราะเป็นห่วงเพื่อนๆทุกคน เรื่องการใช้ยา ควรศึกษาวิธีการใช้และปริมาณที่เหมาะสม และชนิดของปลา เพราะในปลาแต่ละตัวจะมีความไวต่อยาไม่เหมือนกัน เช่น กลุ่มปลากระเบนที่มักจะต้องใช้น้ำสะอาดมากๆ การใช้ยาจึงอาจจะต้องระวังมากๆเลยนะครับ ก่อนจากกันฉบับนี้ขอให้คนไทยทุกคนรักกันมากๆครับ และมีความสุขกับสัตว์เลี้ยงแสนรักของเรา กันทุกคนครับ

เรื่องโดย : เม่นน้อยหัวเต้าหู้ ตีพิมพ์ในนิตยสาร : PET-MAG

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น